บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ข้อสอบจัดประเภทไม่เข้าพวก ชุดที่ 3

ขอให้ท่านทำข้อสอบก่อน โดยจดคำตอบไว้ แล้วไปดูเฉลยด้านล่าง

ข้อที่  1
เปรี้ยว 
หวาน 
มัน 
. เค็ม 
จ.  ฉุน
ข้อที่  2
แตกกระจาย 
แตกต่าง 
.  แตกแยก 
แตกสลาย 
จ.  แตกหัก
ข้อที่  3
ตัด 
เฉือน
แทง 
หั่น
จ.  สับ
ข้อที่  4
ชก 
ต่อย 
ตบ 
.  ทุบ 
จ.  เตะ
ข้อที่  5
ข้าวเจ้า 
ข้าวโพด 
ข้าวฟ่าง 
ข้าวกล้อง 
จ.  ข้าวสาลี
ข้อที่  6
ปลากริม 
ปลาจ่อม
ปลาเจ่า 
ปลาร้า 
จ.  ปลาส้ม
ข้อที่  7
เก๋ 
เก่ง
งาม
สวย 
จ.  หล่อ
ข้อที่  8
ครบครัน 
สมบูรณ์ 
สุขใจ
อุดม 
จ.  เหลือเฟือ
ข้อที่  9
กระเจี๊ยบ 
กระบุง
กระป๋อง
กระเป๋า
จ.  กระโถน
ข้อที่  10
หน้าเป็น 
หน้าเลือด
หน้าใหญ่
หน้าร้อน
จ.  หน้าม้า

เฉลย

ข้อที่  1
เปรี้ยว 
หวาน 
มัน 
. เค็ม 
จ.  ฉุน

วิเคราะห์
เปรี้ยว  หวาน  มัน  เค็ม  ฉุน เป็นคำศัพท์ที่เกี่ยวกับอาหาร  เปรี้ยว  หวาน  มัน  เค็ม  นั้น เป็นการรับรู้รสของอาหารโดยลิ้น ส่วน  ฉุน เป็นการรับรู้กลิ่นของอาหารโดยจมูก
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ จ. ฉุน 

ข้อที่  2
แตกกระจาย 
แตกต่าง 
.  แตกแยก 
แตกสลาย 
จ.  แตกหัก

วิเคราะห์
โจทย์ข้อนี้น่าสนใจ เราต้องมาดูความหมายของคำต่างๆ ก่อน
คำว่า “แตก” พจนานุกรมให้ความหมายไว้ดังนี้
แตก   ก. แยกออกจากส่วนรวม เช่น แก้วแตก ชามแตก,
ทําให้แยกออกจากส่วนรวม เช่น แตกสามัคคี แตกหมู่คณะ;
คุมหรือควบคุมไว้ไม่อยู่ เช่น แตกฝูง ไฟธาตุแตก ใจแตก ตบะแตก;
ปะทุ เช่น ถ่านแตก; ผลิ เช่น แตกกิ่งก้าน แตกใบอ่อน แตกหน่อ;
ไหลออกมาเอง เช่น เหงื่อแตก เยี่ยวแตก ขี้แตก;
มีรอยแยก, แยกออกเป็นรอย, เช่น กําแพงแตก หน้าขนมแตก;
เรียกผู้อ่านหนังสือออกคล่องว่า อ่านหนังสือแตก,
เรียกเสียงห้าวเมื่อเริ่มเป็นหนุ่มว่า เสียงแตก,
เรียกอาการที่พูดจนแสบคอหรือตะโกนดังจนสุดเสียงว่า พูดจนคอแตก ตะโกนจนคอแตก.

ความหมายของคำตอบในตัวเลือก
แตกกระจาย  ไม่มีความหมายในพจนานุกรม
แตกต่าง  ก. ไม่เหมือนกัน, ผิดกัน.
แตกแยก ก. แตกสามัคคี.
แตกสลาย ไม่มีความหมายในพจนานุกรม
แตกหัก ว. เด็ดขาดถึงที่สุดไม่ข้างใดก็ข้างหนึ่งเป็นได้รู้ดีกัน เช่น รบขั้นแตกหัก เจรจาขั้นแตกหัก, ฉาดฉานถึงที่สุดไม่มีอะไรคลุมเครือ เช่น พูดแตกหัก.
จะเห็นได้ว่า แตกกระจาย  แตกแยก  แตกสลาย  แตกหัก ยังมีความหมายหลักๆ ในคำว่า “แตก” แยกออกจากส่วนรวม
ส่วน แตกต่าง ก. ไม่เหมือนกัน, ผิดกัน.นั้น ความหมายไม่เหมือนกับอีก 4 คำข้างต้น
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข. แตกต่าง

ข้อที่  3
ตัด 
เฉือน
แทง 
หั่น
จ.  สับ

วิเคราะห์
ตัด  เฉือน  หั่น  สับ  เป็นกริยาที่ใช้อุปกรณ์ เช่น มีด เป็นต้น กระทำต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทิศทางบนสู่ล่าง และต้องการให้สิ่งนั้นแยกออกจากกัน
ส่วน “แทง” นั้น  ส่วนใหญ่ เป็นกริยาที่ใช้อุปกรณ์ เช่น มีด เป็นต้น กระทำต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระดับเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน แต่ไม่ต้องการให้สิ่งนั้นแยกออกจากกัน
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค. แทง 

ข้อที่  4
ชก 
ต่อย 
ตบ 
.  ทุบ 
จ.  เตะ

วิเคราะห์
ชก  ต่อย  ตบ  ทุบ  เป็นกิริยาอาการที่ใช้มือกระทำ  ส่วน เตะ ต้องใช้เท้ากระทำ
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ จ. เตะ

ข้อที่  5
ข้าวเจ้า 
ข้าวโพด 
ข้าวฟ่าง 
ข้าวกล้อง 
จ.  ข้าวสาลี

วิเคราะห์
ข้าวเจ้า ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ข้าวสาลี เป็นชื่อของข้าวชนิดต่างๆ  ส่วน ข้าวกล้อง  พจนานุกรมให้ความหมายไว้ ดังนี้
น. ข้าวที่สีเอาเปลือกออกโดยยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่, เดิมใช้วิธีใส่ครกตำเรียกว่า ข้าวซ้อม หรือ ข้าวซ้อมมือ.
จะเห็นว่า ข้าวกล้องนั้น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากข้าวอีกทีหนึ่ง
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง. ข้าวกล้อง 

ข้อที่  6
ปลากริม 
ปลาจ่อม
ปลาเจ่า 
ปลาร้า 
จ.  ปลาส้ม

วิเคราะห์
ปลาจ่อม  ปลาเจ่า  ปลาร้า  ปลาส้ม เป็นชื่ออาหารที่ทำจากปลา  ส่วน  ปลากริม  เป็นชื่อของขนม
ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก. ปลากริม 

ข้อที่  7
เก๋ 
เก่ง
งาม
สวย 
จ.  หล่อ

วิเคราะห์
เก๋  งาม  สวย   หล่อ เป็นคำวิเศษณ์ที่บรรยายในด้านร่างกาย ส่วน เก่ง พจนานุกรมให้ความหมายไว้ ดังนี้
ว. สามารถในทางใดทางหนึ่ง เช่น เก่งคํานวณ เรียนเก่ง, เป็นเช่นนั้นบ่อย ๆ, มักเป็นเช่นนั้น, เช่น เป็นหวัดเก่ง หลับเก่งลืมเก่ง.
คำตอบที่ถูกต้องก็คือ ข้อ ข. เก่ง

ข้อที่  8
ครบครัน 
สมบูรณ์ 
สุขใจ
อุดม 
จ.  เหลือเฟือ

วิเคราะห์
ครบครัน  สมบูรณ์  อุดม  เหลือเฟือ เป็นคำวิเศษณ์ที่ใช้บรรยายลักษณะทางกายภาพ  ส่วน สุขใจ เป็นคำที่บรรยายถึงสภาวะทางจิตใจว่า กำลังมีความสุข
คำตอบที่ถูกต้องก็คือ ข้อ ค. สุขใจ

ข้อที่  9
กระเจี๊ยบ 
กระบุง
กระป๋อง
กระเป๋า
จ.  กระโถน

วิเคราะห์
กระบุง  กระป๋อง  กระเป๋า กระโถน เป็นของใช้  ส่วน กระเจี๊ยบ  เป็นพืช
คำตอบที่ถูกต้องก็คือ ข้อ ก. กระเจี๊ยบ

ข้อที่  10
หน้าเป็น 
หน้าเลือด
หน้าใหญ่
หน้าร้อน
จ.  หน้าม้า

วิเคราะห์
พจนานุกรมให้ความหมายของคำว่า “หน้า” ไว้ดังนี้
น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ;
ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยาหน้าปกหนังสือ;
เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่นกระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม;
ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง,
ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนังเช่น หน้ากลอง,
ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน;
ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น;
ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า;
คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว,
ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน;
โดยปริยายหมายถึงคนเช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน;
เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้าไม่ไว้หน้า;
ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า.
ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับหลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้ามกับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.

หน้าเป็น  หน้าเลือด  หน้าใหญ่   หน้าม้า เป็นคำอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์  ส่วน หน้าร้อน ใช้ในความหมายของ “ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน;
คำตอบที่ถูกต้องก็คือ ข้อ ง. หน้าร้อน